29 พฤศจิกายน 2550

การสื่อสาร

จากที่ได้ไปหาหัวข้อที่จะพัฒนาไปเป็นงานเมื่อวานตัวผมเองเกิดความสนใจของการเผยแพร่งาน international style จากฝั่ง สวิตไปยังฝั่งอเมริกาโดยที่โจเซฟ มุลเลอร์ บรอกแมน ได้ไปเผยแพร่งานของเขาให้กับฝั่งอเมริกาจนมีผู้ที่ชื่นชอบ และ สนใจในงานการที่บรอกแมนได้เผยแพร่งานนั้นก็เหมือนกับการเผยแผ่ศาสนาไปยังที่ต่างๆทั้งการเผยแพร่งาน และ ศาสนา นั้นก็เหมือนกับการสื่อสารเรื่องเรื่องหนึ่งให้กับคนอื่นๆได้รับทราบวึ่งการสือสารนั้นผู้ส่งสารนั้นมีจุดประสงค์ที่จะบอกเล่าหรือชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามซึ่งก้แล้วแต่จุดประสงค์ในการสือสาร การสือสารมีความสำคัญมากเพราะถ้าสื่อสารไม่ดีไม่เข้าใจเนื้อหาในการสื่อสารนั้นก็จะบิดเบือนไป
การสื่อสารที่เราใช้บ่อยที่สุดก็คงจะเป็นการสื่อสารด้วยการสนทนา โดยคำพูดแต่ละคำนั้นมีความสำคัญถ้ามีการบอกต่อในจำนวนมากๆก็อาจจะมีการบิดเบือนของคำหรือเนื้อหาของสิ่งที่บอกมาตั้งแต่ต้นซึ่งก็ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ เช่นเรื่องของข่าวสารก็ยังมีความเข้าใจหรือการตีความของคำพูดที่ไม่เหมอนกันทั้งที่มีที่มาจากที่เดียวกัน การบิดเบือนของเนื้อหานั้นเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นการสือสารด้วยวิธีไหนๆไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือการสือสารด้วยกิริยาท่าทาง การเขียน เพราะเมื่อคนที่จะส่งสารใดสารหนึ่งให้กับใครก็จะมีการขยายความหรือการแปลความหมายอย่างที่ตัวเองเข้าใจโดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ดังนั้นสิ่งที่เราได้รับรู้มาทั้งหมดอาจจะไม่ถูกไปซะทุกเรื่องก็ได้

26 พฤศจิกายน 2550

Rodney Smith













Rodney Smith


จากที่ได้บอกไว้ว่า "เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานทำได้ง่ายและตรงกับที่เราคิดไว้ดั่งนั้นจึงไม่ควรที่จะนำเทคโนโลยีมาเป็นตัว กำหนดงานของเรา" วันนี้เลยเอางานภาพถ่ายของ รอดนี่ สมิธ มาให้ดูกันเนื่องจากเอกลักษณ์เด่นของเขาคือการไม่จัดไฟ โดยถ่ายจากแสงธรรมชาติ









Josef Muller Brockmann

Josef Muller Brockmann เอกลักษณ์เด่นที่เห็นได้ชัดก็คือ การใช้รูปทรงเลขาคณิต และการใช้ภาพประกอบ การใช้ตัวอักษรมาจัดวางวันนี้ก็เลยเอางานของเขามาให้ดูกัน



งานชิ้นแรกเป็นงานในปี1950โดยที่ทำให้กับ Zurich Kunstgewerbe musem โดยเราก็จะได้เห็นเอกลักษณ์เขาในงานอย่างชัดเจน










งานชิ้นนี้เป็นโปสเตอร์งานZurich Concert Hall Poster โดยใช้เทคนิค LINO CUT หรือการปั้มนูนโดยงานชิ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อปี1951















งานชุดนี้เป็นงานโปสเตอร์งานZurich Concert Hall Posterที่ใช้ในสามปีตั้งแต่ปี1952-1954โดยเปลี่ยนสีและการวางตัวหนังสือทุกปีโดยเป็นการใช้บล็อคในการพิมพ์












งานที่ทำให้ Kanstgewerbe Musem ที่ใช้เทคนิค light painting ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคใหม่ที่บอคแมนเลือกใช้








งานของ Zurich Kunstgewerbe musem





งานโปสเตอร์เปียนโนโดยก็ยังคงใช้รูปทรงเลขาคณิตในงานอย่างชัดเจน







เมื่อเห็นจากงานแล้วมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นแต่ก็ยังคงเห็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของเขาอยู่
--- เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานทำได้ง่ายและตรงกับที่เราคิดไว้ดั่งนั้นจึงไม่ควรที่จะนำเทคโนโลยีมาเป็นตัว กำหนดงานของเรา---

12 พฤศจิกายน 2550

International Style

International Style ได้รับอิทธิพลด้านการออกแบบจาก Swiss Style ซึ่งเป็นกราฟฟิกที่ได้รับการพัฒนามาจาก Swisszerland ซึ่งงานจะเน้นเรื่องความสะอาดตา จะเกิดจากรูปทรง asymmetrie layouts จะใช้กริยาและ san-serif เป็นงานที่ใช้ asymmetric และ typo เป็นหลัก และอยู่ใน ซูริก ซึ่งเป็นเมืองใน Swisszerland มีนักออกแบบที่โดดเด่นคือ โจเซฟ มุลเลอร์ บรอกแมน
โจเซฟ บรอกแมน มีชีวิตเมื่อ 9 พ.ค.1914-30 ส.ค.1996 บรอกแมนเป็นทั้งนักออกแบบและเป็นอาจารย์ เขาเริ่มเรียน Architecture design และ History of art ที่ มหาวิทยาลัย Kunstgewerges chule ในเมืองซูริก
ในปี1936 เปิดซูริก studio โดยเฉพาะด้าน กราฟฟิก ดีไซน์,เอ็กซิบิชั่น ดีไซน์,โฟโต้
ปี1951 ได้ทำโปสเตอร์ให้กับ Tonhalle ที่ ซูริก
ปี1958 เป็นที่ปรึกษาด้านNew graphic design โดยร่วมกับ R.P. lohusp,C.vivarelliและH neuberg
ปี1961 เป็นคนเขียนและตีพิมพ์ The graphic Design Artist and his Design Problems and Grid systems in Graphic Design
ปี1971 ทำหนังสือ - publications History of the Poster and A history of Visual Communacation



อิทธิพล International style เข้ามาใน America ได้อย่างไร?
ในช่วง 1950-1960 ได้มีการรวมตัวด้านการออกแบบเป็นหน่วยงานถึงในช่วงปี 1970 ถือได้ว่าเป็นช่วงจุดสูงสุดทางการออกแบบเลยก็ว่าได้
ปี 1970 นักออกแบบ Bunnell ได้ชักจูงนักออกแบบจากหลายที่มาร่วมงานเช่น Ulm Journals จากสิ่งพิมพ์ในเยอรมันนี
-New Graphic Design จาก Magazine ใน Swisszerland
-Josef Muller - Brockmann
-Karl Gerstner
ซึ่ง มุลเลอร์ บรอกแมน คือ ผู้ที่มีบทบาทที่เด่นในยุค Swiss style การ Design ใน America ก็อาจได้รับอิทธิพลมาจาก มุลเลอร์ ทำให้การ design ใน america มีความคล้ายคลึงกับในยุค Swiss style มาก
หลังมีการรวมตัวกันเป็นหน่วยงานในปี 1970 Bunnell ก็เป็นผู้นำ ด้าน design งานก็มาในรูปแบบ เรขาคณิต จะเป็นงานใช้สีเดียว และตัวอักษรเป็นแบบโรมันการออกแบบของ Bunnell ได้ใช้ paper และ printing เข้ามาด้วย ทำให้เกิดอุตสาหกรรมในการผลิตงานในภายหลัง
นักออกแบบที่โดดเด่นในยุค International Typographic Style
Paul Rand -เค้าเรียนทางด้าน Art & Design จาก Pratt Institute Paul Rand เริ่มทำงาน ตอนอายุ 23 ปี ในตำแหน่ง Art Director ของ Esquire & Apparel Art magazine ในขณะนั้น Graphic communication จะมีบทบาทเด่นมากในด้าน การวาดภาพประกอบ , พาดหัว , ตัวอักษรเรียบๆ การใช้สีในงานของ Paul Rand ได้รับอิทธิพลจาก งานเขียนต่างๆ เช่น งานของ Picasso

08 พฤศจิกายน 2550

คู่มือมนุษย์

เมื่อสองสามวันก่อนได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของพุทธทาสภิกขุชื่อ"คู่มือมนุษย์"
ก็เลยเอากลอนในหนังสือมาให้ดูกัน

"อะไรที่ไหน"
อันความงาม มีอยู่ตาม หมู่ซากผี
อันความดี อยู่ที่ละ สละยิ่ง
ความเป็นพระ อยู่ที่เพียร บวชเรียนจริง
นิพพานดิ่ง อยู่ที่ตาย ก่อนตาย เอยฯ


"ความแก่"
ความแก่หง่อม ย่อมทุลัก ทุเลมาก
ดั่งคนบอด ข้ามฝาก ฝั่งคลองหา
วิธีไต่ ไผ่ลำ คลานคลำมา
กิริยา แสนทุลัก ทุเลแล;
ถ้าไม่อยาก ให้ทุลัก ทุเลมาก
ต้องข้ามฝาก ให้พ้น ก่อนตนแก่
ก่อนตามืด หูหนวก สะดวกแท้
ตรองให้แน่ แต่เนิ่นๆ รีบเดินเอยฯ

"ของกู-ของสู"
อันความจริง "ของกู" มิได้มี
แต่พอเผลอ "ของกู"มี ขึ้นจนได้
พอหายเผลอ "ของกู" ก็หายไป
หมด"ของกู" เสียได้ เป็นเรื่องดี;
สหายเอ๋ย จงถอน ซึ่ง"ของกู"
และถอนทั้ง "ของสู" อย่างเต็มที่
ของเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ทุกนาที
เพราะไม่มี ของใคร ที่ไหนเอยฯ

"ตัวกู-ตัวสู"
อันความจริง "ตัวกู" มิได้มี
แต่พอเผลอ มันเป็นผี โผล่มาได้
พอหายเผลอ "ตัวกู" ก็หายไป
หมด"ตัวกู" เสียได้ เป็นเรื่องดี;
สหายเอ๋ย จงถอน ซึ่ง"ตัวกู"
และถอนทั้ง "ตัวสู" อย่างเต็มที่
มีกันแต่ ปัญญา และ ปราณี
หน้าที่ใคร ทำให้ดี เท่านี้เอยฯ

"การพึ่งผู้อื่น"
อันพึ่งท่าน พึ่งได้ แต่บางสิ่ง
เช่นพึ่งพิง ผ่านเกล้า เจ้าอยู่หัว
หรือพึ่งแรง คนใช้ จนควายวัว
ใช่จะพ้น พึ่งตัว ไปเมื่อไร
ต้องทำดี จึงเกิดมี ที่ให้พึ่ง
ไม่มีดี นิดหนึ่ง พึ่งเขาไฉน?
ทำดีไป พึ่งตัว ของตัวไป
แล้วจะได้ ที่พึ่ง ซึ่งถาวร
พึ่งผู้อื่น พึ่งได้ แต่ภายนอก
ท่านเพียงแต่ กล่าวบอก หรือพร่ำสอน
ต้องทำจริง เพียรจริง ทุกสิ่ง,ตอน-
นี้,จึงถอน ตัวได้ ไม่ตกจบ
จะตกจน หรือว่า จะตกนรก
ตนต้องยก ตนเอง ให้เหมาะสม
ตนไม่ยก ให้เขายก นั้นพกลม:
จะตกหล่ม ตายเปล่า ไม่เข้าการฯ

"ปริญญา จาก สวนโมกข์"
"ปริญญา ตายก่อนตาย" ใครได้รับ
เป็นอันนับ ว่าจบสิ้น การศึกษา
เป็นโลกุตตร์ หลุดพ้น เหนือโลกา
หยุดเวียนว่าย สิ้นสังสา- รวัฏฏ์วน
ปริญญา แสนสงวน จากสวนโมกข์
คนเขาว่า เยกโยก ไม่เห็นหน
ไม่เห็นดี ที่ตรงไหน ใครสัปรดน
รับเอามา ด่าป่น กันทั่วเมือง
นี่แหละหนา ปริญญา"ตายก่อนตาย"
คนทั้งหลาย มองดู ไม่รู้เรื่อง
เขาอยากอยู่ ให้เด่นดัง มลังเมลือง
เขาเลยเคือง ว่าเราชวน ให้ด่วนตายฯ

และนี้ก็คือกลอนจำนวนหนึ่งที่มีในหนังสือที่เอามาให้อ่านกัน
บางคนอาจจะงงว่าคนอย่างหมีจะเอามาให้อ่านทำไม หรืออาจจะสงสัยว่าไอ้หมีมันเป็นอะไรของมัน มันจะบรรลุแล้วหรือไง
ขอบอกเลยคับว่าไม่ต้องสงสัยหรอก อ่านแล้วคิดตามปฏิบัติตามก็พอแล้วคับ เป็นประโยชน์แน่สำหรับคนที่เปิดรับเรื่องต่างๆ

06 พฤศจิกายน 2550

เปงครั้งแรกที่ลองทำบล็อค เฮ้ย!ไม่น่่าบอกเลยรู้หมดว่าตูบ้านนอก55+
เอาเป็นว่านี้เป็นครั้งแรกที่จะลองงมๆดูผิดถูกค่อยว่ากันใหม่
LET'S Go!